เป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรีโดยแท้ที่สืบต่อๆกันมาตามประวัติ เล่าว่าประเพณีกองข้าวจัดในหลายอำเภอ อาทิเช่น อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอพนัสนิคม ฯลฯ ครั้นกาลเวลาล่วงเลยผ่านไปในบางพื้นที่ประเพณีได้เลือนหายไป ที่ศรีราชายังคงอนุลักษณ์ไว้อย่างต่อเนื่องและเหนียวแน่น จนกระทั่งกลายเป็นประเพณีเอกลักษณ์ของชาวศรีราชา โดยเฉพาะเมื่อ เทศบาลเมืองศรีราชาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงานกองข้าวศรีราชา เริ่มแต่ปี 2536 เป็นต้นมา โดยกำหนดจัดงานประเพณีระหว่างวันที่ 19 – 21 เมษายน ของทุกปี
ในอดีตเมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ศรีมหาราชาของทุกปีชาวบ้านจะนัดหมายกันมา นำสำรับข้าวปลาอาหารทั้งคาวหวานมากองรวมกันและเชิญภูติผีทั้งหลายมากินปีละ ครั้ง โดยเชื่อว่าภูติผีจะไม่มาทำอันตรายชีวิตครอบครัวหรือทรัพย์สินของตนเองหลัง พิธีเซ่นไหว้ชาวบ้านจะล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกันมีการร้องรำทำเพลง การละเล่นสนุกสาน มีเกล็ดว่าทุกคนจะไม่นำอาหารที่เหลือกลับบ้าน แต่จะทิ้งไว้เป็นทานแก่สัตว์
การจัดงานประเพณีกองข้าวเป็นการสนับสนุนส่งเสริมฟื้นฟูอนรักษ์และประเพณีของ ท้องถิ่น ปัจจุบันเทศบาลเมืองศรีราชาได้ผนวกงานสงกรานต์เข้ารวมเป็นงานเดียวกัน และให้ชื่อว่า “ งานสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว ” โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมรณรงค์ให้เด็กเยาวชน และประชาชน ได้เกิดจิตสำนึกในความเป็นคนไทยที่มีเอกลักษณ์และขนบธรรมเนียมประเพณีการ แต่งกายที่ดี ให้ดำรงสืบทอดต่อไป และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยด้วย
สำหรับการจัดงานเทศบาลเมืองศรีราชาร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดชลบุรีอำเภอศรีราชา สภาวัฒนธรรมอำเภอศรีราชาและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี หน่วยงานภาครัฐและเอกชน พ่อค้า ประชาชนชาวศรีราชา ร่วมกันจัดกิจกรรม อาทิเช่น การแสดงด้านศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ภาคต่างๆ และท้องถิ่นโดยเน้นการแสดงด้านวัฒนธรรมที่หลากหลายและสื่อถึงความเป็นไทยที่ อ่อนช้อยสวยงาม อาทิเช่น
มวยตับจาก
เป็นกีฬาพื้นบ้านยอดนิยมของภาคตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดชลบุรี เพราะเนื่องจากมีการปลูกจากเป็นจำนวนมากแต่ปัจจุบันกีฬาประเภทนี้สูญหายไป ด้วยเหตุที่ป่าจากลดน้อยลงอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขันคือ ใบจากแห้งจำนวนมากเพื่อปูให้ทั่วพื้นเวที และเชื่อกสำหรับขึงเวที นักมวย ทั้งคู่จะผูกตาด้วยผ้า และจับให้อยู่คนละมุม มีกรรมการกลางอยู่บนเวที 1 คน
จากนั้นเมื่อมีสัญญาณเริ่มชก นักมวยจะเดินออกจากมุมเพื่อหาคู่ต่อสู้และต่อยกัน โดยจะใช้ฟังเสียงลั่นกรอบๆแกรบๆ ของใบจากที่ปูไว้ เพื่อจับทิศทางผู้ต่อสู้ของตน กติกาการต่อยคือใครต่อยเข้าเป้ามากที่สุด ก็จะได้คะแนนใครได้คะแนนมากเป็นฝ่ายชนะ ชก 3 ยก ยกละ 2 นาที มวยตับจาก จัดเป็นกีฬาพื้นบ้านที่เสริมสร้างไหวพริบในการฟังเสียงได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่น่าเสียดายว่ากีฬาประเภทนี้ได้สูญหายไปแล้ว ตามกาลเวลาที่ผ่านมา
จุดเด่นของรำวงอยู่ที่นางรำ ซึ่งเป็นจุดสนใจให้บรรดาผู้ชมซื้อตั๋วเข้ามารำวงกับคณะนางรำที่มีรูปร่าง หน้าตาดี และมีการติดตามคณะรำวงที่ตนสนใจไปตามงานต่างๆ ทำให้เกิดการเขม่นกับทางเจ้าถิ่น ด้วยสาเหตุนี้ทำให้เกิดการแย่ง “นางรำ” กันขึ้น จนเป็นสาเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทจนยากแก่การควบคุมทำให้ทางราชการต้องสั่งยกเลิก ห้ามมีการแสดงรำวงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การกลับมาอีกครั้งของรำวง
ด้วยกระแสตระหนักแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น และการอนุรักษณ์ความเป็นไทย เทศบาลเมืองศรีราชา จึงได้นำการแสดง “รำวง” กลับมาอีกครั้ง ในรูปแบบของ “รำวงย้อนยุค” ในงานประเพณีกองข้าว ปี 2541 ในรูปแบบที่เน้นเอกลักษณ์ของศิลปะและวัฒนธรรมไทย ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน เชิญทุกท่านร่วมสืบสานความเป็นไทยกับการแสดง “รำวงย้อนยุค” ในงาน ประเพณีกองข้าว
ตะกร้อลอดบ่วง
เป็นการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่ใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการใช้ อวัยวะของร่างกายเป็นท่าทางในการเล่นตะกร้อให้เข้าบ่วง เป็นการอนุลักษณ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิต่อไป
ขนมพื้นบ้านและอาหารพื้นเมือง
เป็นการเชิญผู้มีความรู้ความชำนาญทางด้านอาหารและขนมในชุมชนต่างๆ มาออกร้านแสดงสาธิตการทำขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ซึ่ง เป็นเอกลักษณ์ของพื้นบ้านพื้นเมืองท้องถิ่นศรีราชา เช่น ห่อหมก ทองมัวน งบปิ้ง แจงลอน ลูกชุบ ทองหยิบ ฝอยทอง ข้าวเกียบปากหม้อ ข้าวต้มมัด ฯลฯ
การจัดพิธีกองข้าวบวงสรวง
เป็นประเพณีความเชื่อของชาวศรีราชาที่มีอาชีพด้านการประชุม ซึ่งก่อนจะออกเรือไปจับปลาต้องมีการไหว้พวกผีปีศาจ และเมื่อมีเวลาว่างประมาณเดือน ๔ ชาวบ้านจะมาทรวมกันและนำอาหารมาไหว้เจ้าที่เจ้าทาง เทพดา ผีไม่มีญาติ โดยนำเอาอาหารใส่กระทงไหว้ และอาหารที่เหลือจะแบ่งกันรับประทาน โดยไม่เอากลับบ้าน ต่อมาเทศบาลเมืองศรีราชาได้จัดพิธีโดยได้เชิญพราหมณ์จากเทวสถานโบถ์สพราหมณ์ กรุงเทพมหานครมาเป็นผู้ประกอบพิธี และตั้งเครื่องบวงสรวงอย่างถูกต้อง
การประกวดแห่รถประเพณีกองข้าว
การจัดกิจกรรมการประกวดได้เชิญหน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน องค์กรต่างๆ และชุมชนในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา เข้าร่วมการประกวดและมีรางวัลมอบให้ผู้ชนะการประกวด แบ่งการประกวดเป็น 2 ประเภท คือ
การประกวดขบวนแห่รถประเพณีกองข้าว โดยนำรถมาตกแต่งด้วยดอกไม้ พืชไร่ และวัสดุท้องถิ่น เน้นการตกแต่งเป็นประเภทสวยงามและความคิดสร้างสรรค์
การประกวดขบวนแห่ เน้นการแต่งกายสวยงามความพร้อมเพรียงกัน และมีระเบียบใน ขบวนแห่มีการคัดเลือก ชาย – หญิง แต่งกายชุดไทยสวยงามเพื่อรับรางวัลด้วย
การสาธิตกีฬาชนไก่สมัครเล่น
นายฉัตรชัย ทิมกระจ่าง นายกเทศมนตรีเมืองศรีราชา ผู้มีวิสัยทัศน์และทุ่มเททั้งเวลา และสติปัญญาในการส่งเสริมอาชีพให้แก่ชุมชุนภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจแบบเพียงพอ โดยเฉพาะการผลักดัน ชาวศรีราชาให้หันมาเลี้ยง “ไก่ชน” ป้อนตลาดไก่บ๊อกซิ่งในนาม “ ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมือง ศรีราชา ” ซึ่ง ในปัจจุบันมีอยู่ 10 ชมรมในอำเภอศรีราชาโดยทาง คุณธานินทร์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ซี.พี. ได้ให้การสนับสนุนไก่พันธุ์ไซ่งอน เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านจนออกลูกออกหลานมากมายในทุกวันนี้ และการสาธิตกีฬาชนไก่สมัครเล่น เป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ไก่ชนไทยและพัฒนาสายพันธุ์ให้ดียิ่งขึ้นทำให้ เกิดอาชีพของคนในชุมชนและการสาธิตชนไก่ได้มีกติกาให้ไก่สวมนวมทุกครั้ง
การแสดงแสงสีเสียง
เป็นการแสดงระบบการใช้แสงสีที่สวยงามย้อมบริเวณสถานที่จัดงานให้เป็นบรรยากาศแบบย้อนยุค พร้อม ระบบเครื่องเสียงระบบก้องรอบทิศทาง ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา โดยเฉพาะพิธีเปิดงาน ซึ่งได้เชิญ ฯพณฯ สนธยา คุณปลื้ม และผู้บริหารหน่วยงานจังหวัด และอำเภอ ร่วมงานเป็นจำนวนมาก
ผลการจัดงาน
ในการจัดงานสงกรานต์ศรีมหาราชา และประเพณีกองข้าว เป็นงานใหญ่ระดับประเทศที่มีชาวไทยและชาวต่างประเทศมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ผลจากการจัดงานทำให้งานประเพณีกองข้าวและกิจกรรมในงานประเพณีกองข้าว ซึ่งเป็นขนบธรรมเนีนมประเพณีไทยพื้นบ้านได้รับการฟื้นฟู และเผยแพร่เป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วโลก ทำให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ที่ร่วมงานเกิดความซาบซึ้ง และเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทย จะได้ช่วยกันสืบทอดถึงอนุชนรุ่นหลังตลอดไป
แหล่งที่มา http://chaoprayasurasak.go.th